วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดพระแก้ว

ประวัติวัดพระแก้ว
เดิมเป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่บริเวณนี้มีกอไผ่ชนิดหนึ่งคล้ายไผ่สีสุก แต่ไม่มีหนาม ชาวบ้านนิยมนำไปทำคันธนู และหน้าไม้ คงจะมีมากในบริเวณนี้ ชาวเชียงรายจึงเรียกว่า “วัด ป่าเยี้ยะ หรือวัดป่าญะ” ต่อมาในปี พ.ศ.1897 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออกจึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวสร้างด้วยหยก คือพระแก้วมรกตนั่นเอง ชาวบ้านจึงเรียกชื่อเสียใหม่ว่า “วัดพระแก้ว" ปัจจุบันชาวเชียงรายได้สร้างพระแก้วมรกตองค์ใหม่ขึ้นแทน เรียกว่าพระหยกเชียงราย หรือ พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล ซึ่งสร้างขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ ครบ 90 พรรษา


ตำนานพระแก้วมรกต
ตามตำนานโบราณ (พระภิกษุพรหมราชปัญญา แต่งเป็นภาษาบาลีไว้เมื่อ พ.ศ. 2272) ชื่อหนังสือรัตนพิมพวงศ์พระนาคเสนเถระเป็นผู้สร้างด้วยแก้วอมรโกฏิที่เทวดานำมาจากพระอินทร์นำมาถวาย ที่เมืองปาฏลีบุตร (ปัจจจุบัน เมืองปัตนะ รัฐพิหาร อินเดีย) ต่อมาได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐ์สถาน ยังที่ต่างๆ ดังนี้
1. เกาะลังกา 2. กัมพูชา 3. อินทาปัฐ (นครวัต) 4. กรุงศรีอยุธยา 5. ละโว้ (ลพบุรี) 6. วชิรปราการ (กำแพงเพชร) 7. เชียงราย (พ.ศ.1934-1979 ประดิษฐาน 45 ปี) 8. ลำปาง (พ.ศ. 1979-2011 ประดิษฐาน 32 ปี) 9. เชียงใหม่ (พ.ศ. 2011-2096 ประดิษฐาน 85 ปี) 10. เวียงจันทน์ (พ.ศ.2096 -2321 ประดิษฐาน 225 ปี) 11. กรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2321-ปัจจุบัน)
ปัจจุบันประดิษฐานอยุ่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พรบรมมหาราชวัง ได้รับพระราสชทานนามว่า “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร”

พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล
เนื่องในมหามงคลสมัย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระเจริญมายุ 90 พรรษา จังหวัดเชียงรายได้จัดสร้าง พระพุทธรูปหยก ขนาดหน้าตักกว้าง 47.9 ซม. สูง 65.9 ซม. สร้างด้วยหยก จากประเทศแคนาดา (มร. ฮูเวิร์ด โล เป็นผู้บริจาค) แกะสลักโดยโรงงานหยก วาลินนานกู มหานครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
พระพุทธรูปหยกองค์นี้สร้างขึ้น เพื่อเป็นองค์แทนพระแก้วมรกต เพราะพระแก้วมรกต ได้ถูกค้นพบ ณ พระเจดีย์วัดพระแก้วเป็นแห่งแรก (พ.ศ.1977) และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่ง พระองค์ท่านได้พระราชทานนามถวายว่า “พระพุทธรตนากรนวุติวัสสานุสรณ์” แปลว่าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นอากรแห่งรัตน เป็นมงคลอนุสรณ์ 90 พรรษา และโปรดเกล้าให้เรียกนามสามัญว่า “พระหยกเชียงราย”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543 และจังหวัดเชียงราย ได้ประกอบพิธีแห่เข้าเมืองเชียงราย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2534


หอพระหยกเชียงราย

วัดในภาคเหนือในสมัยโบราณ นอกจากจะมีอุโบสถ วิหาร ศาลา กุฏิ หอพระธรรม ฯลฯ แล้วยังมี
“หอพระสำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป” วัดพระแก้วจึงได้สร้าง “หอพระหยกเชียงราย” เป็นอาคารทรงแบบลานนาโบราณ เป็นอาคาร ค.ส.ล. ประกบด้วยไม้ชั้นเดียว ใต้ถุ่นสูง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร วางศิลาฤกษ์ โดยเจ้าประคุณสมเด็จ
พระพุทธชินวงศ์ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2534 เมื่อได้ก่อสร้างสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาเป็นประธานพิธีเปิดหอพระหยกเชียงรายเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน
พ.ศ.2541


พระอุโบสถ

พระอุโบสถสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433 มีขนาดกว้าง 9.50 เมตร ยาว 21.85 เมตร เดิมเป็นพระวิหาร ต่อมาได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ได้ประกอบพิธีผูกพัธสีมา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2495 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2503 ได้บูรณะใหญ่ครั้งที่ 1 พ.ศ.2503-2505 ในสมัยพุทธวงศ์วิวัฒน์ (วงศ์ ทานวโร) เป็นเจ้าอาวาส นายหมัด ไชยา เป็นช่างผู้ควบคุมการก่อสร้าง ประกอบพิธีปอยหลวงสมโภช เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2505 ได้บูรณะใหญ่ครั้งที่ 2 พ.ศ.2543-2545 โดยเปลี่ยนกระเบื้องกระเทาะปูนเก่าออก ฉาบปูนใหม่ ลงรัก ปิดทอง เปลี่ยนช่อฟ้า-ใบระกา บานประตูหน้างต่าง ลวดลาย ภายในเป็นไม้สักทั้งหมด โดยการควบคุมการก่อสร้างของพระเทพรัตนมุณี เจ้าอาวาส และนายนพดล อิงควนิช

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่วัดพระแก้ว โทร. 0 5371 8533 หรือ www.watphrakaew.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น